5 ขั้นตอนแปลง Data เป็น Content

1. สะสมของ (ข้อมูล)

ในยุคที่ข้อมูล ตัวเลข องค์ความรู้วิชาการต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของคนได้ โดยเฉพาะองค์ความรู้เชิงลึกหรือข้อมูลข้อมูลเฉพาะทางต่างๆ เช่น ผลงานศึกษาทางวิชาการ ผลการวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์ เป็นสิ่งที่สามารถนำมาผลิตเป็น Content ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะได้ จึงควรมีการสะสมข้อมูลและจัดการความรู้ที่มีอย่างเป็นระบบ เช่น มีการจัดหมวดหมู่ข้อมูล หรือทำรายการข้อมูลเก็บไว้เพื่อสะดวกต่อการดึงมาใช้

 

Trick: จะแปลงกายได้แรง ขึ้นกับมี "ของ" แค่ไหน  

 

2. ของพร้อมลง

ในการสื่อสารเชิงเชิงข้อมูล เราต้องมีการอัพเดทข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่เมื่อถึงเวลาใช้ข้อมูล เราจะสามารถนำของที่สะสมไว้ ดึงมาลงได้อย่างทันเวลา ไม่ต้องเสียเวลาในการหาข้อมูลใหม่ ช่วยให้ Content ที่สื่อสารออกไปทันสมัยต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ

 

3. ประกอบของแต่ละแหล่ง

นำของที่สะสมไว้มาแปลงร่าง โดยเริ่มจากกำหนดเรื่องของสิ่งที่จะสื่อสารให้ชัดเจนก่อน แล้วเลือกข้อมูลที่เหมาะสมกับประเด็นที่จะนำเสนอมาใช้ โดยใช้วิธีการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลและลำดับการเล่าเรื่องเพื่อสื่อสาร ถึงแม้จะมีข้อมูลจำนวนมาก เช่น ข้อมูลดิบเชิงตัวเลข ให้ดึงเฉพาะข้อมูลที่สำคัญหรือสามารถเล่าถึงประเด็นที่จะสื่อสารได้ออกมาใช้ และสื่อสารออกไปในรูปแบบ/ภาษาที่สามารถเข้าได้ง่าย เช่น Clip สั้นๆ, Infographic

 

Trick: ของเยอะ เก็บไว้ได้ ไม่ต้องลงหมด

4. จังหวะลง 

ช่วงเวลาในการลงของ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

     1. พอดีเป๊ะ เป็นการเลือกลงของตามอีเวนท์หรือวันสำคัญต่างๆ เช่น วันซูชิโลก – การบริโภคแซลมอนช่วงโควิด 

     2. วางแผนลง เราเป็นคนกำหนดเอง โดยวาง Timeline และโครงเรื่องในการสื่อสารข้อมูลที่มี ว่าจะสื่อสารออกไปในช่วงเวลาใด โดยอาจใช้วิธีการนำเสนอข้อมูลประเด็นเดียวกัน แบ่งเป็นช่วงนำเสนอแบบต่อเนื่อง และเชื่อมโยงเข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น

 

5. ประเมินผลกระทบ

จากสิ่งที่เราสื่อสารออกไป ต้องมีการประเมินผลกระทบด้วยว่า หากสื่อสารออกไปแล้วจะมีผลกระทบต่อคนที่ให้ข้อมูล คนที่อยู่ในประเด็นหรือต่อสังคมอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะบางประเด็นที่มีความละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบก่อนนำเสนอ เช่น เรื่องความปลอดภัยของผู้ที่ให้ข้อมูล หรือผลกระทบในแง่ของการสร้างความขัดแย้งในสังคม


TOP